5 กุมภาพันธ์ 2025
ทฤษฎีโพลีเวกัลถูกพัฒนาโดย Dr. Stephen Porges ในปี 1994 เพื่อศึกษาการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ว่ามีบทบาทอย่างไรต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายกระบวนการทางจิตวิทยาและการบาดแผลทางใจ (Trauma) รวมไปถึงถูกปรับใช้ในการทำบำบัดอีกด้วยครับ
ทฤษฎีโพลีเวกัลแบ่งการตอบสนองของระบบประสาทออกเป็น 3 โหมดหลัก:
1. Ventral Vagal System (โหมดความปลอดภัยและสังคม - Safe & Social Mode)
2. Sympathetic Nervous System (โหมดสู้หรือหนี - Fight or Flight Mode)
3. Dorsal Vagal System (โหมดหยุดนิ่ง/ปิดตัวเอง - Freeze/Shut Down Mode)
สรุปง่าย ๆ:
ถ้ารู้สึกปลอดภัย → Ventral Vagal (สงบ เชื่อมโยงกับผู้อื่นได้ดี)
ถ้ารู้สึกว่ามีอันตราย → Fight or Flight (ร่างกายเตรียมสู้หรือหนี)
ถ้ารู้สึกว่าหนีไม่ได้ สู้ก็ไม่ได้ → Shutdown (ร่างกายปิดตัวเองเพื่อป้องกันความเจ็บปวด)
โดยปกติ ระบบประสาทสามารถเปลี่ยนจากโหมดหนึ่งไปอีกโหมดได้ตามสถานการณ์ เช่น
แต่สำหรับคนที่มีบาดแผลทางจิตใจ ระบบประสาทมักจะติดอยู่ในโหมดป้องกันตัว แม้ว่าอันตรายนั้นจะจบไปแล้วก็ตาม ส่งผลให้บาดแผลนั้นไม่ใช่แค่ "เหตุการณ์ในอดีต" แต่มันคือสิ่งที่ร่างกายยังคงคิดว่ากำลังเกิดขึ้น เช่น
ในบางรายอาจรุนแรงจนพัฒนาไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างเช่น แพนิค ได้ครับ
ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม 'บาดแผลในใจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก' และเป็นงานที่จิตแพทย์อย่างผมต้องพบเจออยู่เป็นประจำ แต่ผมคงไม่กล้าพูดว่าผมเข้าใจความรู้สึกทุกคนหรอกครับ แต่สิ่งที่ผมพอจะยืนยันได้เลย คือ บาดแผลในใจสามารถเยียวยาได้จริงครับ
หลายเคสที่ผมเคยพูดคุยสามารถก้าวผ่านเรื่องราวเหล่านี้และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และในหลายเคสก็ไม่จำเป็นต้องก้าวผ่านแต่สามารถใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างไม่ทุกข์ใจครับ
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ
หมอวอป ณัฎฐชัย (จิตแพทย์)
------------------------
แหล่งที่มา:
Porges SW. Polyvagal Theory: A Science of Safety. Frontiers in Integrative Neuroscience. 2022;16.
Haeyen S (2024) A theoretical exploration of polyvagal theory in creative arts and psychomotor therapies for emotion regulation in stress and trauma. Front. Psychol. 15:1382007. doi: 10.3389/fpsyg.2024.1382007